เมนู

ขันธ์คือรูป 1 อุปาทานขันธ์คือเวทนา 1 อุปาทานขันธ์คือสัญญา 1
อุปาทานขันธ์คือสังขาร 1 อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ 1 เหล่านี้ใช่ไหม
พระเจ้าข้า ?

พ. ดูก่อนภิกษุ อุปาทานขันธ์ 5 ได้แก่ อุปาทานขันธ์ คือ รูป,
เวทนา สัญญา, สังขาร, วิญญาณ
เหล่านี้แหละภิกษุ.

ว่าด้วยมูลแห่งอุปาทานขันธ์ 5


[184] ภิกษุนั้น ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า แล้วได้ทูลถามปัญหาที่ยิ่งขึ้นไปว่า อุปาทานขันธ์ 5
เหล่านี้แล มีอะไรเป็นมูลเหตุ พระเจ้าข้า ?
ภ. ดูก่อนภิกษุ อุปาทานขันธ์ 5 เหล่านี้แล มีฉันทะเป็น
มูลเหตุ ฯลฯ
ภิ. อุปาทานก็อันนั้น และอุปาทานขันธ์ 5 ก็อันนั้น หรือว่า
อุปาทานอื่นจากอุปาทานขันธ์ 5 พระเจ้าข้า ?
ภ. ดูก่อนภิกษุ อุปาทานก็อันนั้น และอุปาทานขันธ์ 5 ก็อันนั้น
หามิได้ และอุปาทานขันธ์อื่นจากอุปาทานขันธ์ 5 ก็หามิได้ แต่ฉันทราคะ
ในอุปาทานขันธ์ 5 เหล่านั้นเป็นตัวอุปาทาน.

ว่าด้วยฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ 5


[185] ภิกษุนั้น ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า แล้วได้ทูลถามปัญหาที่ยิ่งขึ้นไปว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ก็ฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ 5 แตกต่างกันหรือ พระผู้มี-
พระภาคเจ้า
ตรัสตอบว่า ต่างกันภิกษุ ดังนี้แล้วได้ตรัสต่อไปว่า ดูก่อน

ภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้ มีความปรารถนาอย่างนี้ว่าในอนาคตกาล
ขอเราพึงมีรูปเช่นนี้ พึงมีเวทนาเช่นนี้ พึงมีสัญญาเช่นนี้ พึงมีสังขาร
เช่นนี้ พึงมีวิญญาณเช่นนี้. ดูก่อนภิกษุ ฉันทราคะในอุปาทานขันธ์ 5
ต่างกันด้วยประการฉะนี้แล.

ว่าด้วยเหตุที่เรียกว่าขันธ์ 5


[186] ภิกษุนั้น ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า แล้วได้ทูลถามปัญหาที่ยิ่งขึ้นไปว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ขันธ์จึงชื่อว่าขันธ์?
ภ. ดูก่อนภิกษุรูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และ
ปัจจุบัน เป็นภายในก็ดี ภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี
ประณีตก็ดี มีในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี นี้เรียกว่ารูปขันธ์ เวทนาอย่างใด
อย่างหนึ่ง ฯลฯ นี้เรียกว่าเวทนาขันธ์ สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ
นี้เรียกว่าสัญญาขันธ์ สังขารอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ นี้เรียกว่า
สังขารขันธ์ วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และ
ปัจจุบัน เป็นภายในก็ดี ภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี
ประณีตก็ดี มีในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี นี้เรียกว่าวิญญาณขันธ์
ดูก่อนภิกษุ ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล ขันธ์จึงชื่อว่าขันธ์.

ว่าด้วยเหตุปัจจัยแห่งขันธ์ 5


[187] ภิกษุนั้น ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า แล้วได้ทูลถามปัญหาที่ยิ่งขึ้นไปว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยทำให้รูปขันธ์, เวทนาขันธ์,
สัญญาขันธ์, สังขารขันธ์, วิญญาณขันธ์,
ปรากฏ ?